12/07/2007

การเลี้ยงหนูแฮมเตอร์


แฮมสเตอร์แคระเป็นสัตว์จำพวกฟันแทะ (Rodent) ขนาดเล็ก สัตว์จำพวกนี้ได้แก่บีเวอร์ กระต่าย ชินชิลล่า เป็นต้นตามธรรมชาติแล้ว แฮมสเตอร์จะมีถิ่นกำเนิดอย ู่ในแถบทะเลทราย กลางวันอุณหภูมิในทะเลทรายจะสูงมาก แฮมสเตอร์จึงจะหลบนอน เพื่อเก็บแรงไว้ พอตอนกลางคืนเมื่ออุณหภูมิต่ำลง ก็จะออกมาหาอาหาร โดยตุนอาหาร เก็ยไว้กิน แฮมสเตอร์มีกระพุ้งแก้มเป็นแบบพิเศษ ที่สามารถ ใช้กักเก็บอาหาร เพื่อเอากลับไปตุนไว้ในรัง เมื่อแฮมสเตอร์ต้องการจะเอาอาหารที่ตุน ไว้ออกมาจาก ข้างแก้มก็จะใช้เท้าหน้าเล็ก ๆ ค่อย ๆ ดันอาหารจากข้างในแก้มออกมา
แฮมสเตอร์แคระเลี้ยงง่าย เพียงให้อาหารและน้ำไว้ แฮมสเตอร์ก็จะมาทานเอง ส่วนขี้เลื่อยที่ใช้ปูพื้น ก็เปลี่ยนประมาณอาทิตย์ละครั้ง และยังสามารถเลี้ยงตาม คอนโดมิเนียม หรืออพาร์ตเม้นท์ได้ เพราะไม่ร้องเสียงดัง และไม่มีกลิ่น รุนแรงรบกวนใครอีกด้วย
แฮมสเตอร์แคระเป็นสัตว์ที่สายตาไม่ค่อยดี แต่จมูกและหูจะดีมากสามารถได้ยินเสียง ต่าง ๆ รวมทั้งเสียงที่มีึความถี่ระดับ อุลตราโซนิก ทำให้แฮมสเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ โดยที่สัตว์ชนิด อื่นไม่ได้ยิน และยังแยกแยะกันเองว่า ใครเป็นใคร จากกลิ่นโดยจะ ผลิตกลิ่นเฉพาะตัวออกมา จากต่อม Scent Grand เพื่อใช้ในการบอกว่า ใครเป็นใคร เพื่อกำหนดอาณาเขตส่วนตัวและสามารถแยกแยะเพศจากกลิ่นได้
ด้วยเหตุนี้ หากเราเล่นด้วยหรือจับบ่อย ๆ แฮมสเตอร์ก็จะจำได้ว่าเราเป็นเจ้าของ แต่เี่ราควรจะล้างมือให้สะอาดก่อนเล่นกับแฮมสเตอร์ทุกครั้ง เช่นมือเรามีกลิ่นอาหาร แฮมสเตอร์ก็จะไม่รู้ นึกว่าเป็นของกิน ก็อาจจะกัดเราโดยไม่ได้ตั้งใจได้ หรือหากเรา ไปเล่นกับแฮมสเตอร์ตัวอื่นมา กลิ่นขิงแฮมสเตอร์ตัวก่อนหน้านี้?? ก็อาจจะติดมือเรามา ทำให้แยกแยะไม่ออกได้เหมือนกัน นอกจากนี้แฮมสเตอร์ยังมีหนวดเส้นยาว ๆ เหมือน เซนเซอร์ช่วยในการบอกทิศทางได้อีกด้วย
แฮมสเตอร์ชอบอากาศเย็น แต่เราสามารถเลี้ยงในอุณหภูมปกติได้ ซึ่งไม่ควรร้อนจัด เกินไป อย่างเช่น ไม่ควรวางกรงไว้ตรงที่แดดส่องถึง หรือใกล้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความร้อน




WEBMASTER : KiTtY© All Rights reserved ©




คลิกที่รูปเพื่อดูเมนูได้เลยค่ะ

การเลือกไก่ชน



อื่น ๆ เเกี่ยวกับล้านนา
ไก่ชน

การชนไก่ หรือ ตีไก่ คือการที่ไก่ตัวผู้สองตัวมาต่อสู้กันจนแพ้กัน การชนไก่เริ่มมีมาตั้งแต่ยุคสมัยใดนั้นไม่สามารถสันนิษฐานได้ แต่มีผู้สันทัดกรณีบางท่านสันนิษฐานว่า แหล่งกำเนิดน่าอยู่ในทวีป เอเชียเพราะประเทศต่าง ๆ ในเอเซียนิยมเล่นไก่กันอย่างแพร่หลาย เช่น ไทย ลาว พม่า เขมร เวียดนาม จีน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดเนียเซีย เป็นต้น อีกทั้งการพบรูปสลักหินแสดงการชนไก่ที่ปราสาทหินนครวัดในประเทศกัมพูชาที่มีอายุเก่าแก่มากกว่าพันปี แสดงว่าการชนไก่มีมานานแล้ว ไก่จนที่แท้จริงต้องเป็นไก่ที่สืบเชื้อสายมาจากไก่อู ซึ่งมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศอินเดีย และไก่อูนี้เป็นเชื้อสายของไก่พันธุ์พื้นเมืองที่มีเชื้อสายมาจากไก่ป่า ไก่อูเป็นไก่ที่มีลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น รูปร่างสง่า ปราดเปรียวว่องไว โครงกระดูกใหญ่แข็งแรง เนื้อแน่น นิสัยดุร้าย หากินเก่ง และ ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ไก่ชนิดนี้จะตรงกับตำราว่า ” อกชั้น บั้นชิด หงอนปิด ( หงอนหิน ) ปากร่อง ” ซึ่งเป็นตำราว่าด้วยลักษณะไก่ชนที่ดี และต้องเป็นสีประจำพันธุ์ดั้งเดิม คือ สีประดู่หางขาว สีเขียวปีกแมลงภู่และสีเหลืองเท่านั้น
การเล่นไก่ขนของคนภาคเหนือส่วนใหญ่ใช้ไก่อายุประมาณ ๑๑ เดือนขึ้นไป ถ้าอายุไก่อ่อนกว่านั้นขนไก่ก็ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่นัก มักมีขนบั่วออก ( ขนบั่ว - ขนออกใหม่ เป็นหนามแหลม ) หากนำไก่ไปชนในช่วงนี้ไก่มักไม่ค่อยสู้เต็มที่เพราะเจ็บขน ไก่ชนของภาคเหนือจะมีการชนบ่อยครั้ง ปีหนึ่ง อาจชนถึง ๕ - ๖ ครั้ง ในขณะที่ภาคกลางปีหนึ่งอาจชนแค่ ๒ - ๓ ครั้งเท่านั้น การนำไก่ชนบ่อยเกินไปทำให้ไก่ไม่ค่อยสมบูรณ์แข็งแรงเต็มที่ เนื่องจากมีเวลาพักฟื้นสภาพร่างกายน้อยเกินไป
ลักษณะไก่ชนที่ดี
นักเลงไก่ชนจะเริ่มดูลักษณะไก่ว่าตัวไหนจะดีหรือเลว โดยดูตั้งแต่ไก่อายุประมาณ ๔ - ๖ เดือน ขึ้นไปซึ่งพิจารณาจากส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างกาย ดังต่อไปนี้
๑ . ลำตัว ไก่ชนที่ดีลำตัวต้องยาวแบบ “ ไก่สองท่อน ” หมายถึง ช่วงตัวไก่หากใช้มือทั้งสองจับรวบรอบลำตัวให้ปลายนิ้วชี้ทั้งสองชนร่องอกไก่ ส่วนหัวแม่มือทั้งสองอยู่บนหลังไก่ ตั้งแต่ไหล่จนถึงก้นจับรวมได้ ๒ ครั้ง น้ำหนักไก่ชนเมื่อโตเต็มที่ไม่เกิน ๓ กิโลกรัม ไม่อ้วนไม่ผอมเกินไป สูงเปรียว โครงสร้างกระดูกใหญ่ อกกลมมน หลังแบนหน้าหนา ยืนอกชัน ท่าทางองอาจ จึงจะเป็นไก่ชน “ หงส์ ” ที่ถือว่าสง่างามเป็นเลิศ
๒ . สีหนัง สีของหนังไก่เป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องพิจารณา คัดเลือกไก่ชนเพราะแสดงถึงความสมบรูณ์ และลักษณะนิสัยของไก่ได้ ดังนี้
๑ . หนังหนาสีแดง เป็นไก่ที่มีพละกำลังมาก ทรหด อดทน เมื่อนำไปชนจะแข็งแรงและสมบุกสมบันมาก
๒ . หนังเหลือง เป็นประเภทไก่หนังบาง เปราะบาง ไม่สมบุกสมบัน ไม่เหมาะที่จะคัดเป็นไก่ชน
๓ . หนังสีขาว เป็นไก่ประเภทไม่สู้ไก่ในใจไม่ทรหดอดทน ซูบผอมง่าย ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงเป็นไก่ชน
๔ . ไก่หนังดำ ค่อนข้างหายาก จัดเป็นไก่ประเภทพิเศษ สามารถเลี้ยงไว้เป็นไก่ชนได้
๕ . หงอน ไก่ชนที่ดีหงอนต้องหนาเล็ก ฐานแน่บแบบหงอนหิน ( ลักษณะเป็นก้อนกลมยาวรีเล็ก ๆ บนหัวไก่ ) เพราะหงอนเล็กจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหว และไม่เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวและไม่เป็นเป้าในการจิกตีของคู่ต่อสู้ หงอนที่เลว คือหงอนหยัก ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นแผ่นบาง หยักบาง จะทำให้คู่ต่อสู้จิกตีได้ง่าย
๖ . เหนียงและตุ้มหู ไก่ชนพันธุ์แท้จะไม่มีเหนียงและตุ้มหูเลย เนื่องจากเหนียงตุ้มหูเป็นจุดอ่อนที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพราะคู่ต่อสู้มักจิกตีจุดเหล่านี้ หากถูกตีมาก ๆ จะทำให้เลือดคั่งบวมโต ดังนั้นไก่ชนที่ดีต้องไม่มีเหนียงและตุ้มหู หากมีก็ต้องมีขนาดเล็กและสั้นจึงจะใช้ได้
๗ . หัว หัวกะโหลกไก่ชนที่ดีจะมีรอยรัดเข้าไปหาต้นคอ ท้ายทอยต้องไม่มีขนขึ้น เรียกว่า “ รอยไขหัว ” เป็นที่เจาะกรีดเอาเลือดที่คั่งบริเวณหัวออกทิ้ง
๘ . ปาก ไก่ชนต้องมีปากสั้นหนา โคนปากอวบสัดส่วน สมดุลกับหัว ปลายปากงองุ้มเล็กน้อย ปากบนและล่างต้องยาวเท่ากันมีความหนาแน่น แข็งแรง เป็นร่องคล้ายปากนกแก้ว ตำราไก่ชนถือว่าสีของปากไก่ต้องเป็นสีเดียวกันสีของเกล็ดแข้ง ยิ่งตาเป็นสีเดียวกันอีกยิ่งดี ถือว่าเป็นไก่ชนที่ดีเยี่ยม
๙ . รูจมูก รูจมูกไก่อยู่บริเวณโคนปากตอนบนทั้งซ้ายและขวาข้างละรู ไก่ชนที่ดีต้องมีรูจมูกกว้างใหญ่ หายใจสะดวกเวลาเหนื่อยจะไม่หอบเพราะจมูกกว้างหายใจได้สะดวก
๑๑ . ไก่ชนที่ดี ดวงตาต้องแจ่มใสมีน้ำหล่อเลี้ยงเป็นตาประเภทตาปลาหมอตาย สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองแก่ ตาคว่ำและลึกจมอยู่ในเบ้าตา ซึ่งเป็นตาไก่ที่ฉลาด อดทน ดุร้าย อีกประเภทหนึ่ง คือตาลอย มีลักษณะกลมใส กลอกกลิ้ง ล่อกแล่กตลอดเวลา เป็นลักษณะตาไก่ที่ฉลาดมีไหวพริบ ชั้นเชิงดีทรหดอดทน ส่วนตาสีอื่น ๆ เช่น สีแดง ฟ้า น้ำตาล ลายและสีขุ่น มักเป็นสีตาไก่ที่ใจเสาะ ไม่ดี ไม่มีน้ำอดน้ำทน ไม่ควรเลือกไว้ชน ถ้าจะให้ดีสีตาต้องเป็นสีเดียวกับปาก เกล็ดแข้งและเดือย จะเป็นการดีมาก
๑๒ . คางและคอ ไก่ชนต้องมีคางซึ่งคางซึ่งจัดว่ามีลักษณะดี ๓ แบบ คือ คางรัด คางเหลี่ยม และคางกลม คอไก่ชนที่ดีต้องยาวและใหญ่ หากเป็นคอโกลน คือซอกคอด้านล่างโล้น จนเห็นหนังแดงๆ ไม่มีขนสร้อยเลยยิ่งดี จัดเป็นไก่ที่มีชั้นเชิง ตีประชิดตัวดีมาก
๑๓ . สีขนสร้อย โดยปกติมักเรียกไก่ตามสีขนสร้อยของมัน เช่น เหลือง เขียว ประดู่ ทองแดง หม่น ( เทา ) เลาและลาย เป็นต้น สร้อย คือขนละเอียดปลายแหลมสีต่าง ๆ จะปกคลุมด้านบนเป็นขนรอง สร้อยขนที่คอเรียก “ สร้อยคอ ” ที่ปีกเรียก ” สร้อยปีก ” ส่วนที่ปกตั้งแต่หลังโคนหางเรียก “ สร้อยหลัง ” ไก่ชนจะต้องมีสีขนสร้อยทั้งตัวเป็นสีเดียวกัน อาทิ หากสร้อยคอสีเหลืองสร้อยปีกและหลังก็ต้องเป็นสีเหลืองเหมือนกัน ทั้งนี้อาจเรียกสีหางเพิ่มไปด้วย เช่น เหลืองหางขาว เหลืองหางดอก เหลือหางดำ เป็นต้น
๑๔ . อก อกไก่ชนต้องกว้างใหญ่และค่อย ๆ เรียวลงอย่างได้สัดส่วน กล้ามเนื้อนูน เวลายืนอด ( อกชัน ) ดูเป็นสง่า อีกแบบหนึ่ง คือจะมีลักษณะกลมรี แต่ไม่ยาวเท่าใด
๑๕ . ช่องท้อง ช่องท้องเป็นช่วงระหว่างกระดูกกอไก่กับรูทวาร ซึ่งจะมีเฉพาะเนื้อและหนังเท่านั้นไก่ชนที่ดีช่องท้องต้องเล็กและแคบ
๑๖ . ตะเกียบก้น เป็นปุ่มกระดูกแข็ง ๒ ปุ่ม อยู่ก้นบริเวณทวารหนัก ไก่ชนดีตะเกียบต้องแข็งและอยู่บริเวณทวารหนัก ไก่ชนดีตะเกียบต้องแข็งและอยู่ชิดกัน ยิ่งชิดมากยิ่งดี ตามตำราไก่ชนชาวเหนือ เรียกว่า “ ไก่ฮูขี้ตั๋น ” เป็นไก่ชนที่ว่องไวและตีเร็ว
๑๗. หาง นักชนไก่นิยมไก่มีหางแบบแข็งเป็นกำใหญ่ ( ภาคกลางเรียก “ หางกระบอก ”) นอกจากนี้อาจเป็นแบบหางพุ่ม ส่วนหางยาวโค้งมักไม่นิยมเพราะไก่ชนมักเหยียบหางตัวเองทำให้เสียหลัก เวลาชนไก่จะเคลื่อนไหวไม่คล่องตัว
๑๘ . ปีกและขน ขนไก่ที่จัดว่างามต้องละเอียด หนา แห้ง แข็งเป็นมันและปลายแหลม ส่วนขนปีกต้องหนาใหญ่และยาว ในการนำไก่ไปชน เจ้าของต้องดูความสมบูรณ์ของขนด้วย คือไก่ ต้องไม่อยู่ในระยะถ่ายขน ( สลัดขนเก่าหลุดไป ขนใหม่จะงอกขึ้น ) ไก่ถ่ายขนนี้ปล่อยให้ชนยังไม่ได้ เพราะขนยังไม่สมบูรณ์พร้อม อาจแสดงชั้นเชิงตีไม่ได้เต็มที่ วิธีสังเกต คือถ้าหงายปีกดูตรงโคนขนปีกแต่ละเส้น หากมีรอยปลอกสีขาวโผล่เคลื่อนออกมา ก็แสดงว่าไก่กำลังถ่ายขน
๑๙ . แข้ง แข้งไก่มี ๕ ประเภท คือ
๑ . แข้งเรียวหวายมีลักษณะกลมเล็กเหมือนเส้นหวาย โดยจะกลมตั้งแต่ข้อเข่าและจะค่อย ๆ เรียวใหญ่ขึ้นจนจรดโคนนิ้ว เป็นแข้งที่ตีได้เจ็บปวดและแม่นมาก
๒ . แข้งกลมใหญ่และแข้งเหลี่ยมใหญ่ ไก่ตัวโต มักมีแข้งใหญ่แต่ไก่ตีช้า มักตีตามลำตัว ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไก่แข้งเล็ก
๓ . แข้งคัด คือแข้งแบบเหลี่ยมเล็ก เป็นที่นิยมพอสมควร
๔ . แข้งแข็งสั้น เป็นลักษณะแข้งที่ตีดีเช่นกันแต่ทั้งนี้ต้องสังเกตดูสัดส่วนของช่วงขากับลำแข้งซึ่งต้องยาวได้สัดส่วนกัน ถ้าลำแข้งสั้นกว่าปั้นขามากก็ไม่ค่อยแม่น
๑๗ . เกล็ด ไก่ชนโดยทั่วๆ ไปมักมีเกล็ดแข้งแบบธรรมดา ซึ่งมีลักษณะเป็น ๒ แถว หรือ ๓ แถว อาจเรียงเป็นระเบียบก็ได้ แต่ที่นักเลงไก่ชนให้ความสนใจมากเพราะเป็นเกล็ดพิเศษ ถือว่าเป็นเกล็ดไก่ชนที่ดีมาก คือ เกล็ดปอบ ( ปลอก ) ภาคกลางเรียก “ เกล็ดกำไล ” จะมีลักษณะเป็นเกล็ดเดียว ( คล้ายเกล็ดที่นิ้ว ) เรียงกันเต็มแข้ง เกล็ด พร้าวพันลำ ( ภาคกลางเรียก เกล็ดพันลำ ) เป็นเกล็ดเดียวเฉียงเรียงเต็มแข้ง สิ่งที่สำคัญก็คือสีของเกล็ดต้องเหมือนสีปาก ตา ขน เล็บ และเดือย จึงจะเป็นไก่ชนที่ดีเยี่ยม
๑๘ . เดือย ภาษถิ่นเรียกว่า เดือ เดือยไก่ที่ดีต้องแข็งและแหลมเป็นอาวุธประจำตัวของไก่ชนที่สำคัญคือ ถ้าแทงถูกจุดสำคัญอาจทำให้คู่ต่อสู้ได้รับบาดเจ็บ และไม่ยอมสู้เดือยไก่ชนมี ๗ ลักษณะ ดังนี้
๑ . เดือยเข็ม มีขนาดเล็ก ยาวและปลายแหลม เป็นเดือยที่แทงได้แม่นยำเจ็บปวด แต่หักง่าย
๒ . เดือยขนเม่น มีลักษณะกลม ก้านเดือยกลมคล้ายขนแม่น ปลายแหลมคม และตรงเฉียงลงเล็กน้อยเป็นเดือยไก่ชนที่ดีมาก จัดเป็นไก่แทงจัด ขนาดเดือยมักจะเท่ากับนิ้วไก่
๓ . เดือยงาช้าง มีลักษณะกลมค่อนข้างแบนเล็กน้อย ปลายแหลม งอนขึ้นคล้ายงาช้าง มั่นคงแข็งแรงมาก
๔ เดือยคัด โคนใหญ่และสั้นปลายแหลมคม แข็งแรงและทนมากแต่แทงได้ไม่ลึก
๕ . เดือยแฝด เป็นเดือยที่งอกซ้อนกันมากกว่า ๒ อัน หากยาวและได้สัดส่วนจัดเป็นเดือยที่อันตรายมากเพราะหากเดือยแทงเกิดบาดแผลฉกรรจ์
๖ . เดือยขวาน เป็นเดือยแบนหนาเทอะทะ ปลายบานออกคล้ายคมขวาน เป็นเดือยที่ไม่ดี
๗ . เดือยคุด เป็นเพียงปุ่มกระดูก ไม่มีคม ไม่มีประโยชน์ เดือยไก่ชนที่ดี ควรมีสีเดียวกับสีตัว ปาก เกล็ด แข้ง เล็บ และตา และความยาวเดือยต้องยาวเกินครึ่งนิ้วจึงถือว่าดี
๑๙ . นิ้ว เกล็ดนิ้ว และเล็บ นิ้วไก่จะมี ๔ นิ้ว ด้านหน้าสามนิ้ว และด้านหลังเฉียง ๆ มีนิ้วก้อย นิ้วไก่ชนที่ดีมักจะนิ้วสั้นใหญ่ เพราะไก่ที่มีลำหักโค่นดี แข็งแรง และตีได้รุนแรงมาก ส่วนนิ้วเล็กยาว ตีไม่ค่อยหนักแน่นเด็ดขาด แต่ถ้าถูกจุดสำคัญก็สร้างความเจ็บปวดพอสมควร การพิจารณานิ้วไก่ต้องดูเกล็ดนิ้วควบคู่ไปด้วย เกล็ดไก่ชนต้องมีเกล็ดหลักร่องลึกชัดเจน หากมีเกล็ดแซมกลางนิ้วหรือที่เรียกว่า “ เกล็ดแตก ” ที่นิ้วกลางของไก่ชนยิ่งดี ถือว่าเป็นไก่ชนชั้นเชิงแพรวพราว ขนดีอีกทั้งต้องมีการนับดูเกล็ด ที่นิ้วกลางตั้งแต่เกล็ดแรกของโคนนิ้วไปจรดเกล็ดสุดท้ายโคนเล็บ ต้องมีจำนวนคี่ ๑๗ หรือ ๑๙ เกล็ดจึงถือว่าดี สีเกล็ดต้องเป็นสีเดียวกับสีขน ปาก แข้ง เดือย ตาและเล็บ จึงถือว่างาม
๒๐ . อุ้งเท้า อุ้งเท้าไก่ชนที่ดีจะต้องแฟบ และบุ๋มเข้าไปเพราะจะทำให้ไก่สามารถเดินและกระโดดตีได้ถนัด
การเลี้ยงดูไก่ชน
๑ . การดูแลสุขภาพ โดยปกติก่อนที่ไก่ชนจะโตเต็มวัย เมื่ออายุได้ประมาณ ๖ เดือน เจ้าของจะต้องเอาออก ชาม ( อ่าน ” จาม ”) หมายถึงการฝึกชนหรือซ้อมชน เพื่อทดสอบดูลีลาชั้นเชิงของไก่ ส่วนใหญ่จะชนไม่เกิน ๓ ยก ทั้งนี้เจ้าของต้องการดูว่าไก่ดีด ( ตี ) หนักเบาเพียงใดแทงแม่นยำหรือไม่ และไก่ชั้นเชิงของไก่ประเภทไหน ก่อนที่ไก่จะโตและนำออกสู่สังเวียนจะต้องผ่านการ ชาม ๒ - ๓ ครั้ง
กรณีที่ไก่ชนสมบรูณ์แข็งแรงและเจริญเติบโตเต็มวัยชนแล้วเจ้าของจะเพิ่มความดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษเรื่องสุขภาพร่างกาย โดยจะเอาไก่ชนออกกำลังกายทุกเช้า ( บางแห่งก็ให้ไก่ออกกำลังกายเช้า - เย็น ) ในการฟิตร่างกายไก่ทำได้ ๒ วิธี ( ภาคเหนือ ) คือ
การล่อ คือการอุ้มไก่ตัวผู้อีกตัวหนึ่งมาล่อ โดยต้องยกไก่ล่อให้อยู่ในระดับสูงกว่าไก่ชน ให้ไก่ชนกระโดดจิกและตี บางทีก็ล่อให้ไก่ชนวิ่งไล่ตามเป็นการออกกำลังขาไปโดยไม่รู้ตัว
การเวียน เป็นการเอาไก่ตัวหนึ่งขังไว้ในกุ่ม ( สุ่มไก่ ) แล้วปล่อยให้ไก่ชนวิ่งไปมารอบๆ กุ่มหาทางเข้าไปตีไก่ตัวที่อยู่ในกุ่มนั้น แต่เจ้าของต้องคอยดูไม่ให้ไก่จิกลอดตาสุ่ม เพราะอาจทำให้ปากไก่ได้รับบาดเจ็บ หลังจากที่ออกกำลังแล้ว จะนำไก่ไปอาบน้ำ โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นพอเปียก แล้วเช็ดตามบริเวณสำคัญๆ ของไก่ หัวลำคอ ใต้ปีก สีข้าง หน้าอก ขา แข้ง และเดือย เสร็จแล้วก็เอาไก่ขังสุ่มให้ไก่ผิงแดดสักประมาณครึ่งชั่วโมงให้ขนแห้งแล้วเอาข้าวเปลือกให้กิน
๒ . อาหารบำรุงไก่ชน ข้าวที่ให้ไก่กินจะต้องเป็นข้าวขัด คือข้าวเปลือกที่ใช้ใบตะไคร้ขยี้คั้นกับเม็ดข้าวจนหมด คาย ( อ่าน ” กาย ” คือละอองฝุ่นที่ติดบนเม็ดข้าวเปลือก หากถูกผิวหนังมาก ๆ จะเกิดอาการระคายเคือง ) ข้าวเปลือกจะมีกลิ่นหอมตะไคร้ จากนั้นก็เอาไข่ไก่คลุกเคล้ากับข้าวขัดแล้วตากแดดให้แห้งและเก็บใส่ภาชนะไว้ให้ไก่ชนกิน นอกจากนี้ก็มีอาหารบำรุงสูตรพิเศษ เนื้อแช่น้ำผึ้งและกล้วยแช่น้ำผึ้ง วิธีทำก็คือ เอากล้วยน้ำว้าสุกหรือเนื้อหมูมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ยาวประมาณ ๑ นิ้ว แล้วเอาใส่กระปุกเติมน้ำผึ้งลงไปหมักพอให้น้ำผึ้งท่วมเนื้อ ปิดฝากระปุกไว้สัก ๓ วัน จากนั้นก็เอาให้ไก่ชนกินวันละประมาณ ๒ - ๓ ชิ้น บางครั้งไก่ชนมักเป็นพยาธิ ประเภทพยาธิปากขอ นักเลงไก่ชนมักจะทำยาสมุนไพรถ่ายพยาธิไว้ให้ไก่กิน โดยจะตำเมล็ดหมากผสมกะปิเล็กน้อย แล้วปั้นเป็นลูกกลอนเม็ดเล็ก และนำไปตากแห้งสนิท ให้ไก่กินครั้งละเม็ด เช้า – เย็น ประมาณ ๓ วัน นอกจากนี้ในแต่ละวันเจ้าของไก่จะต้องหาใบผักสด เช่น ผักกาด ผักบุ้ง ผักกระถิน หรือ หญ้ามีขนให้ไก่กินเพื่อไก่ได้รับแร่ธาตุและวิตามินเพิ่มขึ้น
๓ . ที่พักอาศัย ตามธรรมดาไก่เลี้ยงทั่วไปเจ้าของ มักปล่อยให้นอนตามต้นไม้ หรือใต้ถุนบ้านแต่ไก่ชนนี้เจ้าของจะดูแลเป็นพิเศษ โดยจะทำเล้าไก่ลักษณะตูบหมาแหงนมุงด้วยหญ้าคา หรือสังกะสี คุ้มแดดคุ้มฝนให้ไก่นอน บางทีก็อาจใช้ไม้ไผ่ตีเป็นแผงระแนงรอบ ๆ เล้า เพื่อป้องกันสุนัขหรือแมวเข้าไปรบกวนไก่ และทำประตูเปิด - ปิดไว้ ภายในเล้าไก่จะมีรางน้ำ รางข้าวและกระป๋องใส่กรวดทรายไว้ให้ไก่ บางรายกรณีที่เป็นช่วงเก็บตัวพร้อมที่จะเอาไก่ไปชน เจ้าของอาจเอาสุ่มครอบไก่ชน แล้วเอามุ้งมาคลุมสุ่มไก่ เพื่อป้องกันยุงและริ้นไรเข้าไปรบกวนไก่ตอนกลางคืน ให้ไก่ได้หลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ไก่จะได้กระปรี้กระเปร่าและมีสุขภาพจิตที่ดี
การเปรียบไก่และการเดิมพัน
การเปรียบ คือการหาคู่ชน ซึ่งเจ้าของไก่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะการจับคู่ชนก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกัน ซึ่งส่งผลกระทบถึงการแพ้ชนะได้ การเปรียบไก่ชนนี้ เจ้าของไก่แต่ละฝ่ายจะแลกกันจับดูไก่ โดยจะใช้มือรวบตัวเพื่อกะขนาดลำตัวและน้ำหนัก อีกทั้งพิจารณาดูรายละเอียดต่าง ๆ ของไก่แต่ละฝ่าย เช่น ความสูง ความกว้างของแผ่นหลัง ความหนาของอก ปั้นขา ตลอดจนความยาวของช่วงขา ช่วงตัว ความใหญ่ของลำคอ และความยาวความแหลมของเดือย หากดูแล้วไม่ได้เปรียบเสียเปรียบกันมาก เจ้าของไก่ต่างพึงพอใจทั้งสองฝ่าย ก็จะตกลงกันเรื่องเงินเดิมพัน ซึ่งจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับความเก่งของไก่ อาจจะตั้งแต่ ๕๐๐ บาทขึ้นไป จนถึงหลักแสน ถ้าตกลงหลักแสน ถ้าตกลงกันได้ก็จะจับคู่ชนกันเลย
กติกาในการชนไก่
บ่อนชนไก่ จะประกอบด้วยวงเสวียนหรือเวียน สูงประมาณครึ่งเมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๔ - ๕ เมตร มีนายบ่อนหรือเจ้าของบ่อนเป็นผู้ดูแลและดำเนินการ นอกจากนี้จะต้องมีคนคอยจับเวลาในการชนไก่ สมัยก่อนเรียก “ คนเฝ้าอาน ” หรือ “ คนตีเหล็ก ( กะหล็ก หมายถึง เกราะซึ่งทำจากปล้องไม้ไผ่สีสุกเจาะข้างเวลาตีเสียงดังโป๊กโป๊ก ) คนเฝ้าอานจะทำหน้าที่จับเวลาขณะชนไก่และการพักยกให้น้ำไก่ โดยต้องคอยมองดูอาน ซึ่งทำจากขันน้ำเจาะรูเล็กเท่ารูเข็มที่ก้นขัน เมื่อวางบนน้ำจะใช้เวลาประมาณ ๑๕ นาที น้ำจะเข้าเต็มขันและจมสู่ก้นถัง หรือขวดโหล เมื่อขันจมแสดงว่าครบยกก็จะ ตีกะเหล็ก ( เคาะเกราะ ) เป็นสัญญาณให้แยกไก่และหยุดพักยกให้น้ำ เมื่อหยุดพักยกให้น้ำก็จะจับอานวางบนน้ำใหม่จนกว่าขันจมน้ำ จึงเคาะเกราะอีกครั้งเป็นสัญญาณหมดเวลาพัก ให้เอาไก่ชน ใหม่จนกว่าไก่จะแพ้ชนะกัน การชนไก่แต่ละคู่ใช้เวลาทั้งหมดไม่เกิน ๑๒ อาน ( ภาคกลางเรียก ” อัน ”) อานละประมาณ ๑๐ – ๑๕ นาที บางแห่งให้พักยกให้น้ำครั้งละ ๒๐ นาที แต่มักปกติชนไม่เกิน ๗ อาน บางคู่อาจใช้เวลาเพียง ๓ - ๔ อานก็แพ้ชนะกันแล้ว ปัจจุบันบ่อนไก่ส่วนใหญ่ใช้นาฬิกาจับเวลา สำหรับบ่อนใหญ่ ๆ อาจใช้วิธีตั้งเวลาอัตโนมัติ และมีสัญญาณเสียงกริ่งเตือนเมื่อครบกำหนดเวลา
ในการชนไก่แต่ละคู่ นายบ่อนจะเป็นกรรมการผู้ชี้ขาด และเมื่อจะเริ่มชนในแต่ละยกนายบ่อนจะเข้าไปในสังเวียนพร้อมกับเจ้าของไก่ทั้งสองฝ่าย เมื่อปล่อยไก่ชนกันแล้ว ทั้งหมดต้องออกจากสังเวียนทันที ขณะที่ไก่กำลังชนกันห้ามมิให้เจ้าของช่วยเหลือหรือแตะต้องตัวไก่ ไม่ว่าจะวิธีไหนก็ตาม ไม่เช่นนั้นอาจถูกปรับให้แพ้ได้ ครั้นเมื่อหมดยก นายบ่อนเข้าไปจับไก่แยกออกจากกัน ในการตัดสินแพ้ชนะมักใช้หลักเกณฑ์เหมือน ๆ กัน คือหากไก่ชนตัวใดถูกตีแล้วร้อง และวิ่งหนีด้วยอาการเชิดหัวสูง ถือว่าไก่ตัวนั้นแพ้ แต่ถ้าร้องและวิ่งโดยไม่เชิดหัว ถ้าไม่หันมาสู้ กรรมการจะจับมาวางสู้ใหม่ ถ้าจับวาง ๓ ครั้งยังไม่สู้ให้ถือว่าไก่ตัวนั้นแพ้ ในทำนองเดียวกัน หากไก่ชนกันจนหมดแรง ไม่แพ้ชนะ ยืนเอาอกปะทะกันไขว้คอกันนิ่งอยู่ไม่ยอมชน เมื่อกรรมการจับแยกออกมาแล้วยังกลับเข้าไปอยู่ในท่าทางเช่นเดิมอีก ต้องตัดสินให้เสมอกัน
การพักยกให้น้ำไก่ชน
ช่วงพักยกให้น้ำ เจ้าของไก่ชนจะนำไก่ไปที่ซุ้มให้น้ำ โดยจะมีพี่เลี้ยง หรือที่ภาคกลางเรียกว่า “ มือน้ำ ” คอยช่วยซุ้มให้น้ำจะมีถังน้ำ เตาอั้งโล่ติดไฟถ่านคุแดงตลอด และจะมีแผ่นซีเมนต์หรือแผ่น เหล็กขาง หรือเหล็กหล่อ พาดวางบนปากเตา ภาษาชาวบ้านเรียก เตาจ่า เจ้าของไก่ต้องเตรียมผ้าให้น้ำไปด้วย วิธีให้น้ำก็คือ เอาผ้าจุ่มในน้ำพอเปียกหมาด ๆ แล้วเอาผ้าคลุมบนเตาจ่าร้อน ๆ ๒ – ๓ครั้ง และเช็ดพลางประคบหัวไก่ คอ ใต้ปีก หน้าอก และปั้นขาไก่ หลังจากนั้นก็เอาขนไก่ปั่นในปากและคอไก่ เอาเสลด และน้ำลายปนเลือดที่คั่งอยู่ออกรูดทิ้งเพื่อให้ไก่หายใจสะดวกขึ้น จนไก่หายใจปกติไม่มีเสลดขลุกขลักในคอ จากนั้นก็เอาผ้าชุบน้ำเย็นบีบใส่หน้าและหัวไก่ให้คลายเหนื่อย แล้วค่อยบีบน้ำหยดใส่ปากให้ไก่กิน
ในกรณีที่ไก่ชนไปหลายยกแล้วยังไม่แพ้ชนะ ไก่มักเจ็บและบอบช้ำมาก หากมีบาดแผลเพราะถูกเดือยแทง เจ้าของและพี่เลี้ยงต้องรีบเอาผ้าชุบน้ำคลุกเตาให้พอร้อน ประคบและเช็ดแผลแล้วเย็บแผลที่แตกให้ปิดสนิทโดยใช้เข็มและด้ายเย็บผ้าเย็บปิดแผล หากหัวไก่บวมมีเลือดคั่งต้องรับไขหัว คือใช้มีดโกนกรีดแล้วดูดหรือบีบเอาเลือดที่คั่งอยู่ออกทิ้ง แล้วเย็บแผลให้สนิท บางทีไก่ถูกตีตาบวม บูดก็ต้อง ถ่างหนังตา ด้วยการใช้เข็มเย็บร้อยเปลือกตาบนดึงขึ้นผูกติด หรือร้อยเย็บติดหงอนไว้ และร้อยเปลือกตาล่างติดกับแก้มช่วยให้ไก่มองเห็นคู่ต่อสู้ได้ หรือถ้าจะงอยปากไก่แตกหรือฉีกก็ต้องถักปากกันไม่ให้หลุด โดยทำบ่วงเงื่อนตะกุดเบ็ดรัดไว้แล้วผูกเงื่อนด้ายกับหงอนให้แน่น หลังจากที่ตกแต่งบาดแผลเสร็จ ผู้ให้น้ำต้องลองตรวจอาการไก่ชนว่าอาการดีขึ้น หรือไม่โดยบีบน้ำใส่หัวไก่ หากไก่สลัดหัวแสดงว่าอาการดีขึ้น ถ้าปล่อยลงเดินหากเดินเซต้องเอาน้ำอุ่นประคบ และดัดคอดัดปีกคลายความตึงเครียดให้ไก่พักสักครู่ โดยเอาผ้าชุบน้ำหมาดคลุมหัวไก่พักไว้ ถ้าเปิดผ้าออกปล่อยให้ไก่ลองเดินหากไก่ตีปีกและขันท้าทายแสดงว่าอาการพร้อมชนแล้ว
การรักษาพยาบาลไก่หลังชน
เมื่อชนแพ้ - ชนะแล้ว เจ้าของต้องรีบตัดด้ายที่เย็บถ่างตาและที่ผูกจะงอยปากออกทิ้ง แล้วใช้ผ้าชุบน้ำจากกระเบื้องร้อนประคบ และเช็ดตัวให้ทั่วและเช็ดแผลให้สะอาด แล้วเอาขมิ้นฝนกับน้ำปูนแดง ทาแผลและส่วนที่บอบช้ำให้ทั่วขมิ้นกับปูนแดง จะช่วยสมานแผลให้แผลแห้งเร็ว บางคนก็อาจใช้ยาแผนปัจจุบันทาให้ไก่ชน ทุก ๆ เช้าต้องเอาน้ำอุ่นจัดประคบบริเวณใบหน้า และส่วนที่บอบช้ำหลาย ๆ ครั้งแล้วจึงทายาให้ไก่ หากไก่มีอาการซึมแสดงว่ามีไข้ต้องรีบให้ยาแก้ไข้หวัดกิน และคอยบำรุงรักษาจนกว่าอาการเป็นปกติ
คำศัพท์เฉพาะไก่ชนที่ออกลีลาต่าง ๆ ขณะชน
๑ . ไก่ออกน้ำ หมายถึงไก่ที่ชนแล้วได้ยกหนึ่ง พอพักให้น้ำเสร็จ กลับไปชนอีกครั้งไม่ยอมชนอีก ไก่ออกน้ำนี้มักเป็น ไก่หงอนแถ้ม ( หงอนแบน ๆ )
๒ . ไก่ค้อนถี่ ค้อนหมายถึงการตีของไก่ที่กระทำต่อคู่ ต่อสู้ แต่ละครั้ง ไก่ค้อนถี่มักตีไม่แรง
๓ . ไก่ค้อนห่าง คือไก่ที่นาน ๆ จะตีสักครั้ง มักจะตีหนัก ๆ
๔ . ไก่ลง มี ๒ ประเภทคือ
๔ . ๑ ลงดี หมายถึงไก่ที่ก้มหัวสอดใต้ปีกคู่ต่อสู้ หรือแบกโดยใช้ลำคอคู่ต่อสู้เพื่อพลิกจิกหัวแล้วตี
๔ . ๒ ลงไม่ดี หมายถึงอาการไม่ค่อยสู้ มักเอาหัวซุกใต้ปีกคู่ต่อสู้หลบพักอยู่ หรือก้มหัวให้คู่ต่อสู้จิกตีโดยง่าย
๕ . ไก่ลอย หมายถึงอาการไก่ที่ชนแล้ววิ่งไปวนมา เหมือนหนีคู่ต่อสู้แล้วกลับมาชนกันอีก
๖ . สอดส้อย คือการที่ไก่รู้จักเอาหัวซุกเข้าใต้ปีกคู่ต่อสู้ แล้วโผล่หัวออกมาจิกตี
๗ . หางคลี่ คืออาการของไก่ที่หมดทางสู้ คลี่ปีกหางปกปล่อยให้คู่ต่อสู้จิกตีโดยไม่มีการตอบโต้ ( ถ้ามีสภาพอย่างนี้เจ้าของไก่มักจะยอมแพ้ )
๘ . ดีดตงคาง ( อ่าน ” ดีดต๋างกาง ”) คือตีเสยคางคู่ต่อสู้

การเลี้ยงปลาตู้


การเลี้ยงปลาสวยงาม 2
ตอนที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปลาตู้
ปลาตู้ เป็นชื่อเรียกง่าย ๆ ของปลาที่เลี้ยงในตู้กระจก ปลาตู้จัดเป็นสัตว์น้ำที่ใช้อวัยวะส่วนครีบ และกล้ามเนื้อช่วยในการเคลื่อนไหว หายใจด้วยเหลือก มีกระดูกสันหลัง มีรูปร่าง และสีสันที่สวยงามและแตกต่างกันไป ซึ่งสีสันต่าง ๆ ที่เราดูสวยงามนั้น เป็นเพียงสิ่งอำพรางหรือการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เพื่อให้พ้นภัยจากศัตรูและยังสามารถช่วยดึงดูดความสนใจจากเพศตรงข้าม การที่เราจะเริ่มเลี้ยงปลาตู้เราจึงควรต้องศึกษาลักษณะส่วนต่าง ๆ ของปลาที่เกี่ยวข้องกับระบบการเจริญเติบโตของปลา การวางไข่ และนิสัยความเป็นอยู่ เพื่อช่วยปรับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้เหมาะสมต่อความต้องการของปลาให้ดีขึ้น
ลักษณะทั่วไปของปลาตู้ 1. ลักษณะสัดส่วนของลำตัวแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาจะมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ 2. บริเวณเหงือกมีช่องเปิดสำหรับการหายใจ 3. เป็นสัตว์เลือดเย็น 4. แยกสัดส่วนที่ชัดเจนคือ ส่วนหัว ลำตัว และหาง มีทั้งประเภทมีเกล็ดและไม่มีเกล็ด 5. มีการให้ลูกแตกต่างกัน บางชนิดออกลูกเป็นไข่ แต่บางชนิดออกลูกเป็นตัว
ลักษณะรูปร่างของปลา โดยทั่วไปของปลาจะแบ่งลักษณะตัวปลาออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ 1. ส่วนหัว เริ่มตั้งแต่ปลายสุดของปาก ยาวตลอดถึงขอบกระดูก กระพุ้งแก้ม 2. ส่วนลำตัว คือ ส่วนที่อยู่ถัดต่อจากปลายสุดของกระพุ้งแก้มจนถึงรูทวารหนัก 3. ส่วนหาง คือ ส่วนที่อยู่ปลายสุดของปลาเริ่มจากรูทวารหนักยาวตลอดถึงปลายสุดของครีบหาง
อวัยวะต่าง ๆ ภายนอกของปลา 1. ตา ตาของปลาส่วนมากจะทำหน้าที่ในการรับรู้ความรู้สึกในการมองและวิวัฒนาการเพื่อให้สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ในน้ำได้ดี 2. จมูก โดยมากจมูกของปลามีไว้สำหรับสูดดมกลิ่น ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่า ปลาส่วนใหญ่มีรูจมูก 2 รู แต่บางชนิดอาจมีรูจมูกเพียงรูเดียวก็ได้ 3. ครีบหาง อยู่ส่วนท้ายสุดของตัวปลาทำหน้าที่ช่วยบังคับทิศทางให้ปลาพุ่งไปข้างหน้าเวลาว่ายน้ำ และคอยบังคับการเลี้ยวและการทรงตัว 4. ครีบทวาร มีลักษณะเป็นครีบเดียวคล้ายกับครีบหาง ซึ่งอยู่ส่วนล่างของลำตัว ถัดจากครีบหางเข้าไปทางส่วนหน้าเล็กน้อยและอยู่ใกล้กับรูทวารหนักมีหน้าที่ช่วยในการทรงตัว 5. ครีบไขมัน มีลักษณะตั้งตรง สูงต่ำแผ่กว้างริ้วไปตามกระแสน้ำมีทั้งอ่อนและแข็ง หรืออาจพบครีบหลัง ตั้งซ้อนกันอยู่ ซึ่งเป็นไปตามพันธุกรรมของปลาแต่ละชนิดที่ผิดแปลกไป ทำให้เกิดความสวยงามยิ่งขึ้น 6. เกล็ดปลา มีทั้งเล็กและใหญ่เรียงซ้อนกันเป็นระเบียบมีสีเงินมันเงาช่วยป้องกันอันตรายแก่ตัวปลา และยังช่วยลดแรงเสียดทางของอากาศ 7. เส้นข้างตัว โดยทั่วไปแล้วเส้นข้างตัวจะอยู่อย่างเป็นอิสระข้างละ 1 เส้น ปลาบางชนิดอาจไม่มีหรือมีจำนวนมากก็ได้ มีหน้าที่สัมผัสติดต่อกับสภาวะภายนอกรับความรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนของระดับน้ำรอบ ๆ ตัวเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการปรับตัว เช่น อุณหภูมิและความเค็มของน้ำ 8. หนวด เป็นอวัยวะที่อยู่ทางด้านส่วนหัวของปลา มีความสั้น - ยาว แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของปลา หนวดมีหน้าที่รับความรู้สึก รับรส คลำทางหาอาหาร 9. ครีบคู่ เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือน แขน ขา ช่วยในการบังคับให้ปลาปักหัว เชิดหัว หรือทรงตัวอยู่กับที่ 10. รูทวารหนัก เป็นส่วนที่อยู่ทางด้านหลังของครีบท้องเชื่อมติดต่อกับครีบทวารหนักมีหน้าที่ในการขับถ่ายมูล และของเสียต่าง ๆ
สีบนลำตัวของปลา ปลาจัดเป็นสัตว์น้ำที่มีสีสันลวดลายสวยสดงดงามชวนให้เกิดความเพลิดเพลินแก่ผู้เลี้ยง ซึ่งผิดแปลกไปจากสัตว์ทั่ว ๆ ไปเพราะว่าปลามีระบบช่วงสีและการจัดเรียบเรียงสีอย่าแน่นอน แต่ปลาบางชนิดก็ยังสามารถปรับระบบช่วงสีและการจัดเรียงสีสัน ไปตามสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมได้ดีอีกด้วย การปรับสีให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมนั้นจะถูกควบคุมด้วยระบบประสาท การเกิดสีสันที่ถาวรบนตัวปลา เป็นผลมาจากปฏิกิริยาของฮอร์โมนบางชนิด และยังมีแสงเป็นปัจจัยส่วนประกอบที่ช่วยกระตุ้นอีกด้วย
ระบบการสืบพันธุ์ของปลาตู้ ระบบการสืบพันธุ์เป็นวิธีการอย่างหนึ่งสำหรับสิ่งมีชีวิต เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ซึ่งทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตที่สวยงามเพิ่มขึ้นมาใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการสืบพันธุ์ของปลาในการวางไข่แต่ละครั้ง มีปริมาณมาก จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาและหาวิธีการขยายพันธุ์ปลาแต่ละประเภท ให้เหมาะสม ระบบการสืบพันธุ์ของปลาแบ่งได้ 3 วิธี คือ 1. วิธีสืบพันธุ์แบบแยกเพศ เป็นลักษณะที่ปลาเพศผู้ผลิตน้ำเชื้อและปลาเพศเมียผลิตรังไข่ เมื่อถึงเวลาอันควร หรือฤดูวางไข่ ก็จะมีการผสมพันธุ์กัน ซึ่งวิธีการนี้จะพบเห็นกับปลาตู้ทั่ว ๆ ไป 2. วิธีสืบพันธุ์แบบกระเทย เป็นลักษณะปลาตัวเดียวแต่มี 2 เพศ ปลาประเภทนี้ ไม่สามารถเพิ่มผลผลิตในตัวเองได้ และการสืบพันธุ์แบบนี้ ก็มีน้อยมาก คือ ในช่วงแรกจะเป็นเพศผู้ ต่อมาเริ่มเปลี่ยนเป็นเพศเมีย 3. วิธีการสืบพันธุ์แบบไม่ได้รับการผสม เป็นลักษณะที่ลูกปลาเกิดมาโดยไม่ได้รับเชื้อจากตัวผู้แต่เจริญจากปลาตัวเมีย โดยเชื้อจากตัวผู้เป็นตัวกระตุ้นให้ไข่สุกเท่านั้น จึงไม่สามารถสืบพันธุ์ได้จากเพศผู้ในปลาชนิดเดียวกัน
การดูลักษณะเพศ ก่อนที่จะเริ่มเพาะพันธุ์ปลาตู้ เราจะต้องศึกษาการแยกเพศปลาตู้ให้ถูกต้องเสียก่อน มิฉะนั้นการเพาะพันธุ์จะไม่ได้ผล ปลาตู้บางชนิดมีขนาดเล็กทำให้แยกเพศลำบากต่างบางชนิดสามารถแยกเพศได้ง่าย การแยกเพศที่นิยมใช้ก็คือการแยกเพศตามลักษณะภายนอกโดยสังเกตรูปร่างลักษณะของปลา ดังนี้ 1. ปลาเพศเมีย 1) มีลักษณะป้อมสั้น กลมกว่าปลาเพศผู้ 2) ตัวจะมีขนาดใหญ่ 3) ครีบหลังและครีบหูสั้น 4) สีซีดหรือไม่มีสี 5) ช่วงฤดูผสมพันธุ์บริเวณท้องจะเต่ง 6) ติ่งเพศจะกลมสั้น 2. ปลาเพศผู้ 1) ลักษณะลำตัวจะเล็กกว่าเพศเมีย 2) ครีบหลัง ครีบก้นและครีบหูจะดูยาวเรียวและโค้งเป็นพิเศษ 3) มีสีสันสวยงาม 4) ในกรณีที่มีหนวดปลาเพศผู้จะมีหนวดยาวกว่าเพศเมีย 5) ติ่งเพศ ยื่นออกมาให้เห็นมีลักษณะค่อนข้างแหลม
ฤดูกาลที่ปลาวางไข่ ปลาตู้ทุกชนิดจะไม่มีฤดูกาลวางไข่ที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับว่าเมื่อร่างกายเจริญเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ระบบสืบพันธุ์ก็พร้อม และเมื่อมีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะเริ่มมีการวางไข่ และจะเป็นเช่นนี้ตลอดปี ปลาที่ออกลูกได้เร็วก็มี ปลาหางนกยูง ปลาสอด เป็นต้น ปลาชนิดนี้จะได้ลูกในระยะเวลา 3-4 เดือน เรื่อย ๆ ไป ช่วงฤดูกาลวางไข่เราสังเกตได้จากปลาเพศผู้ไล่ต้อนปลาเพศเมียหรือปลาบางชนิดใช้ปากจูบกัน แสดงถึงการจับคู่ผสมพันธุ์วางไข่ ซึ่งเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบันวิทยาการก้าวหน้ามากถึงกับมีการกระตุ้นให้ปลาเกิดอาการจัดคู่วางไข่ ได้โดยอาศัยปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1. การปรับระดับอุณหภูมิในน้ำให้เหมาะสมกับการวางไข่ของปลาบางชนิด ซึ่งระดับอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมนี้ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก 2. การให้อาหารที่มีธาตุอาหารครบตามความต้องการของปลา 3. อุปกรณ์ที่จะกระตุ้นการวางไข่ของปลาแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน เช่นปลาที่ชอบวางไข่ติดกับพันธุ์ไม้น้ำเช่น ปลาปอมปาดัวร์ ปลาทอง เป็นต้น ถ้าเราไม่จัดพันธุ์ไม้น้ำไว้ให้ต่อให้ไข่สุกแค่ไหนปลาก็จะไม่ยอมวางไข่ ปลาบางประเภทชอบฝนตก ปลาบางประเภทชอบน้ำใหม่ ดังนั้นเราจึงต้องศึกษาธรรมชาตาของปลาตู้แต่ละประเภทให้ดีพอ 4. ปลาเพศตรงข้าม ก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการกระตุ้นให้มีการวางไข่เช่นตัวเมีย จะกระตุ้นให้ตัวผู้ผลิตน้ำเชื้อ เช่น ปลากัด ฯลฯ 5. ลักษณะความหนาแน่นของพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ถ้าพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์มีมากเกินไป ถึงแม้ว่าไข่และน้ำเชื้อจะสมบูรณ์เต็มที่ ปลาเหล่านี้ก็จะไม่มีการผสมพันธุ์กัน ทั้งนี้เพราะระบบนิเวศน์ไม่เหมาะสม

การเลี้ยงหมาแบบฉบับย่อ

เรื่องน้องหมาน่ารู้
การเลี้ยงหมาสักตัวหนึ่ง ความรักจำเป็นพอๆ กับความรู้
อย่าดูแค่หน้าตาน่าเอ็นดูแล้วตัดสินใจซื้อ
ควรหาข้อมูลก่อนว่าหมาพันธุ์อะไร ตัวโตเต็มที่ขนาดไหน นิสัยเป็นยังไง จะเข้ากับเราได้ไหม
เช่น เป็นคนเงียบขรึม จริงจัง อย่าซื้อหมาที่ซุกซน ขี้เล่น ปากเปราะ เพราะเราจะรำคาญ หรือไม่หมาก็จะเฉาตาย
อยู่ทาวเฮ้าส์แคบๆ อย่าเลี้ยงหมาพันธุ์ใหญ่ ถ้าไม่แน่ใจว่ามีที่ทางให้มันเหยียดแข้งขา หรือมีเวลาพามันไปออกกำลังกาย ไม่ให้ขามันเป็นง่อย
อย่าลืมว่าหมามีชีวิต เราต้องเป็นที่พึ่งของมันอย่างน้อยก็ 10 ปี
อย่าตัดสินใจเลี้ยงสัตว์ด้วยอารมณ์ชั่ววูบเด็ดขาด อาจต้องใช้เวลาไตร่ตรองพอๆ กับตัดสินใจมีลูกเลยเชียว

การเลี้ยงแมว

บ้านของเจ้าเหมียวแมวนั้นเป็นสัตว์ที่รักอิสระ ต้องการวิ่งเล่นและปีนป่าย จึงควรให้แมวอาศัยในที่กว้างๆ (ถ้ามีพื้นที่พอ) อาจหาอุปกรณ์หรือของเล่นให้แมวได้เล่น หรืออาจทำกรงหรือคอกให้แมวอยู่เป็นสัดส่วน แต่ไม่ใช่ขังกรงตลอดเวลา แต่ก็ไม่ควรปล่อยแมวให้ออกไปเที่ยวบ่อยเกินไป เพราะแมวอาจไปผสมพันธุ์กับแมวตัวอื่นได้ หรืออาจติดโรคติดต่อจากแมวตัวอื่นได้การเลี้ยงแมวในบ้านทำได้โดย หาตะกร้าหรือหีบใบเล็กๆ ใช้เศษผ้าเก่าๆรองไว้ ควรวางตะกร้าไว้ในที่ๆอากาศถ่ายเทสะดวก อบอุ่น และที่ๆเป็นมุมสงบของบ้านการเลี้ยงแมวนอกบ้านการเลี้ยงแมวนอกบ้านนั้น ควรสร้างกรง หรือโรงเรือน ควรมีขนาดประมาณ 10 -15 ตารางฟุตต่อ 1ตัว ควรมีหลังคากันแดดกันฝน ผนังกรงเป็นลวดตาข่าย โปร่งทุกด้านหรืออย่างน้อย 3ด้าน ด้านทึบสำหรับกันลมโกรก พื้นกรงควรเป็นไม้ถาวร สูงจากพื้นประมาณ 1ฟุต เพื่อป้องกันการหมักหมมของสิ่งปฏิกูล เห็บ หมัด ควรตั้งกรงในที่ๆมีแดดอ่อนๆตอนเช้า แต่ระวังอย่าให้ถูกลมโกรก หรือฝนสาด
จัดทำโดยนางสาวศรัณพร พิริยานุพงษ์นางสาวอริญชยา ขันติวัฒนาโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานครCopyright (c) 2006 Ms.Saranphorn pririyanupong Ms.Arinchaya Khantiwattana All right reserved